Starkle

ความปลอดภัยคือหัวใจของการผลิตอาหาร

ปัจจุบันปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชรุนแรงและยาวนานขึ้น เนื่องจากการปรับตัวของศัตรูพืชต่อสภาพแวดล้อมและสารเคมีที่ใช้ป้องกันกำจัด ในขณะที่เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อควบคุมการระบาดลุกลามของศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง หากใช้บ่อยเกินไปก็เป็นการสิ้นเปลืองและมีผลตกค้างในผลผลิตภายหลังการเก็บเกี่ยว เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค หากเว้นระยะนานเกินไปก็เป็นการเปิดช่องให้กับศัตรูพืชรุกรานเข้าทำลาย
Starkle สาร Dinotefuran หนึ่งในสมาชิกของ IRAC MoA Classification กลุ่ม 4A Neonicotinoids กลุ่มเดียวกับ Acetamiprid, Imidacloprid และ Thiamethoxam ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยและประเทศเกษตรกรรมทั่วโลก การใช้งานสารเหล่านี้จึงควรงดเว้นการสลับการฉีดพ่นในพืชฤดูเดียวกันเพื่อป้องกันศัตรูพืชดื้อต่อสารในกลุ่มเดียวกัน
Starkle โดดเด่นในการควบคุมแมลงศัตรูพืชในนาข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยไฟในนาข้าว อัตราการใช้ต่ำเพียง 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ในขณะที่เพลี้ยไฟในพริก อัตราการใช้เพื่อการป้องกันกำจัดอยู่ที่ 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ด้วงหมัดผัก แมลงหวี่ขาว ใช้อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
Starkle มี 3 รูปแบบให้ใช้งาน 10% WP, 10% SL ฉีดพ่นทางใบ ควบคุมแมลงศัตรูพืชได้นานถึง 14 วัน และ 1% GR หว่านลงดินเพื่อควบคุมศัตรูพืชทางดินและป้องกันการระบาดขึ้นสู่ลำต้นได้นานถึง 40 วัน ระยะเวลาหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวหรือ PHI (Pre-Harvest Interval) ต่ำ เพียง 1-3 วัน เกษตรกรจึงสามารถฉีดพ่นได้อย่างต่อเนื่องในระหว่างการเก็บเกี่ยวผลผลิต









Comments

Popular posts from this blog

Bacterial Leaf Blight Curation

Zinc Thiazole Benefit

Bacterial Leaf Blight Disease